ข้อมูลเทศบาล

 

ประวัติความเป็นมา

 
     ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่อำเภอนครชัยศรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองนครชัยศรี โดยมีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว (ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร) เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น และจัดรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครชัยศรีได้โอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และตั้งมณฑลขึ้นโดยรวมเมืองนครชัยศรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี ไว้ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองนครชัยศรี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยุบมณฑลนครชัยศรีลง เมืองนครชัยศรีเดิมถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอนครชัยศรี โดยขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม
 
     อำเภอนครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีเรื่องราวบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในบริเวณอำเภอนครชัยศรี ปัจจุบันนครชัยศรีนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม และ
อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร


                                 
 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์เทศบาลตำบลนครชัยศรี
     “ นครชัยศรีเมืองน่าอยู่  ชุมชนเข้มแข็ง 
สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลนครชัยศรี
     ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
     ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
     ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคม
     ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
     ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี
     ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริการสาธารณะ 
 
เป้าประสงค์
     1. การพัฒนาส่งเสริม  การศึกษา  ทำนุบำรุงรักษาศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม 
         จารีตประเพณี  การกีฬา  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
     2. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น  อยู่อย่างพอเพียง  มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
     3. การท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์  สร้างรายได้กับท้องถิ่น
     4. การจัดการด้านสาธารณสุข  สวัสดิการสังคม  การสังคมสงเคราะห์  มีประสิทธิภาพ 
         ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
     5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาให้เกิดความสมดุลอย่างมีคุณภาพ 
         ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
     6. ระบบการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมกระบวนการ
         มีส่วนร่วม และความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาท้องถิ่น
     7. ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณูปโภค  สาธารณูปการอย่างทั่วถึง  มีมาตรฐาน

 

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
ชุมชนหมู่ 1 ตำบลนครชัยศรี 377 286 332 618 คน
ชุมชนหมู่ 2 ตำบลนครชัยศรี 144 76 83 159 คน
ชุมชนหมู่ 1 ตำบลวัดแค 83 186 200 386 คน
ชุมชนหมู่ 2 ตำบลวัดแค 138 72 72 144 คน
ชุมชนหมู่ 2 ตำบลบางกระเบา 994 462 532 994 คน
ชุมชนหมู่ 3 ตำบลบางกระเบา 2,163 1,366 1,685 3,051 คน
ชุมชนหมู่ 2 ตำบลท่าตำหนัก 1,452 627 825 1,452 คน
ชุมชนหมู่ 3 ตำบลท่าตำหนัก 612 300 312 612 คน
ชุมชนหมู่ 1 ตำบลบางแก้ว 219 249 280 529 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

     เทศบาลตำบลนครชัยศรีเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18   กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติกฤษฎีกาเล่มที่ 116 ตอนที่ 9ก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เป็นผลให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น
เทศบาลตำบล ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542

ลักษณะที่ตั้ง
     เทศบาลตำบลนครชัยศรี ตั้งอยู่เลขที่ 2  หมู่ที่ 1 ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครปฐม ประมาณ  12 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร
(ปิ่นเกล้า - นครชัยศรี) ประมาณ 41 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 4.54 ตารางกิโลเมตร
 
สภาพภูมิประเทศ
     พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านคือ แม่น้ำท่าจีน และมีคลองต่าง ๆ เชื่อมโยงกัน ประกอบด้วยคลองเจดีย์บูชา และคลองบางแก้ว 
 

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง ประกอบด้วย
     -  หมู่ที่  1,  หมู่ที่ 2 (บางส่วน) ตำบลนครชัยศรี
     -  หมู่ที่  2  (บางส่วน),  หมู่  3 ตำบลบางกระเบา
     -  หมู่ที่  1,  หมู่ที่  2  ตำบลวัดแค
     -  หมู่ที่  1  (บางส่วน)  ตำบลบางแก้ว
     -  หมู่ที่  2,  หมู่ที่  3  (บางส่วน)  ตำบลท่าตำหนัก

อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
     -  ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค 
     -  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส
     -  ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชัยศรี องค์การบริหารส่วนตำบลขุนแก้ว
        และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนัก
     -  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนักและองค์การบริหารส่วนตำบล
        บางแก้ว
 
ชุมชน
     ชุมชนในเขตการปกครอง จำนวน 11 ชุมชน ได้แก่
     1. ชุมชน หมู่1 ตำบลนครชัยศรี
     2. ชุมชน หมู่ 2 ตำบลนครชัยศรี
     3. ชุมชน หมู่ 1 ตำบลวัดแค
     4. ชุมชน หมู่ 2 ตำบลวัดแค
     5. ชุมชน หมู่ 2 ตำบลบางกระเบา
     6. ชุมชน หมู่ 3 ตำบลบางกระเบา (ฝั่งท่ารถตู้)
     7. ชุมชน หมู่ 3 ตำบลบางกระเบา (ฝั่งดับเพลิง)
     8. ชุมชน หมู่ 2 ตำบลท่าตำหนัก (ฝั่งกุฎชี)
     9. ชุมชน หมู่ 2 ตำบลท่าตำหนัก (ฝั่งชลประทาน)
   10. ชุมชน หมู่ 3 ตำบลท่าตำหนัก
   11. ชุมชน หมู่ 1 ตำบลบางแก้ว
     จำนวนบ้านเรือนทั้งสิ้น 4,232 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น 8,229 คน

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ด้านเศรษฐกิจ
    โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ

    - ค้าขาย และบริการ
    - รับราชการและทำงานห้างร้าน,บริษัท
    - ทำงานในโรงงานต่างๆ

การเกษตรกรรม

    ในเขตเทศบาลปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้อยมาก เนื่องจากพื้นที่การเกษตรเหลือน้อย
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ส้มโอ ฝรั่ง และมะพร้าวน้ำหอม เลี้ยงปลา ทำนา
 
การพาณิชยกรรมและบริการ
    สถานประกอบการด้านพาณิชกรรม
    -  ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง
    -  สถานีบริการน้ำมัน  จำนวน 2 แห่ง
    -  ตลาดสด จำนวน 2 แห่ง
    -  ร้านค้าทั่วไป จำนวน 250 ร้าน
    -  สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน  55 แห่ง
    สถานประกอบการด้านบริการ
    -  โรงแรม จำนวน 3 แห่ง
    -  หอพัก จำนวน 8 แห่ง
    -  ธนาคาร จำนวน 11 แห่ง
 
การอุตสาหกรรม
    การอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมีผู้ใช้แรงงานประมาณ 10,000 คน มีโรงงานจำนวน 11 โรง คือ
    1. โรงงานสุรา จำนวน 2 โรง
    2. โรงงานน้ำมันเมนทอล จำนวน 1 โรง
    3. โรงงานเซรามิค จำนวน 2 โรง
    4. โรงงานทำขวดพลาสติก จำนวน 2 โรง
    5. โรงงานทอผ้า(ฟาร์อิสต์) จำนวน  1 โรง
    6. โรงสี จำนวน 1 โรง
    7. โรงน้ำแข็ง จำนวน  1 โรง
    8. โรงงานทำเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 1 โรง

การท่องเที่ยว
    เนื่องจากพื้นที่ใกล้เคียงเขตเทศบาลมีแหล่งท่องเที่ยวและตลาดน้ำหลายแห่ง และในเขตเทศบาล
มีร้านอาหารและร้านจำหน่ายผลไม้เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวจะแวะมารับประทานอาหาร ซื้อผลไม้และของฝากต่าง ๆ ประมาณเดือนละ 7,500 คน ทำให้มีรายได้หมุนเวียนจากนักท่องเที่ยว
ประมาณ 1,875,000 บาท/เดือน

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

 

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคม
     การคมนาคมสามารถไปมาได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งทางน้ำใช้แม่น้ำท่าจีน สัญจรไปมาระหว่าง
หมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ แต่ปัจจุบันการคมนาคมทางน้ำลดความสำคัญลง การคมนาคมทางบกมีสะพาน
รวมเมฆเชื่อมพื้นที่เขตเทศบาลข้ามแม่น้ำท่าจีนกับตำบลไทยาวาส ผ่านไปยังอำเภอพุทธมณฑล   
ถนนสายสำคัญที่ติดต่อระหว่างจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน คือ
     - ถนนเพชรเกษมหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4  ผ่านตำบลบางแก้วและตำบลท่าตำหนัก
     - ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3094 แยกจากถนนเพชรเกษมที่หมู่1 ตำบลนครชัยศรี
       ผ่านที่ว่าการอำเภอและสำนักงานเทศบาลตำบลนครชัยศรี
     - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3235 แยกจากถนนสาย 3094 ที่หมู่ 1 ตำบลนครชัยศรี 
       ผ่านตำบลบางกระเบา
     - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3233 แยกจากถนนสาย 3094 ผ่านตำบลนครชัยศรีและตำบลวัดแค
 
การไฟฟ้า
     มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอนครชัยศรี จำนวน 1 แห่ง

การสื่อสาร
     - มีบริษัท ทศท. จำกัด(มหาชน) สาขานครชัยศรี จำนวน 1 แห่ง
     - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
     - ระบบเสียงตามสาย ให้บริการได้ครอบคลุม ร้อยละ 70 ของพื้นที่
 



 

 


 

• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• การปฏิบัติงาน

     • คู่มือการปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

     • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือการให้บริการ

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจ
ในการให้บริการ


• การบริหารทรัพยากรบุคคล

     • นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

     • การดำเนินการตามนโยบาย
การบริหารทรัพยากรบุคคล


     • หลักเกณฑ์การบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล


     • รายงานผลการบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี